วัดนาคปรก Watnakprok


ประวัติ
สภาพฐานะ
ลักษณะพื้นที่ แต่ เดิมเป็นสวน มีลำคลองไหลผ่านทั้งหน้าวัดหลังวัดการคมนาคม ในอดีตใช้เรือในการไปมาหาสู่กัน ปัจจุบันลำคลองบางส่วนได้ถูกถมทำเป็นถนนทางสัญจรของประชาชนที่อยู่ละแวกใกล้ วัด สภาพชมชนปัจจุบันได้กลายเป็นตึกรามบ้านช่อง เป็นชุมชนขนาดใหญ่

ที่ตั้งและอาณาเขตของวัด
ที่ตั้ง วัดนาคปรกมีฐานะเป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๓๔๒ ถนนเทอดไท ๔๙ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ที่ดินที่ตั้งวัดมี ๑๒ ไร่ ๑ งาน ๔๒ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๒๕๐๔๓ อาณาเขต ทิศเหนือติดกันคลองวัดนาคปรก ด้านทิศตะวันออกติดกับวัดนางชี ทิศใต้ติดกับคลองบางหว้า และด้านทิศตะวันตกติดกับโรงเรียนวัดนาคปรก

ผู้สร้างวัด
ตามประวัติเล่าสืบกันว่า เมื่อสมัยอยุธยาตอนปลาย-กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ ๓-๔) มีพ่อค้าเรือสำเภาชาวจีน ชื่อ พระบริบูรณ์ธนากร (เจ้าสัวพุก แซ่ตัน) เดินทางมาประกอบการค้าขายที่พระนคร ฝั่งธนบุรี ย่านตลาดพลู ได้ตั้งรากปักฐานเป็นครอบครัวกับภรรยาคนไทย เจ้าสัวพุก เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสยิ่งในพระพุทธศาสนา มีฐานะดีพอที่จะเกื้อกูลประโยชน์แก่คนอื่น จึงได้คิดริเริ่มก่อสร้างวัดขึ้น เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม กิจกรรม และศาสนกิจทางพระพุทธศาสนา อีกประการหนึ่ง เพื่อเป็นการตอบแทนคุณชาวไทยที่ทำให้การค้าขายของตนเติบโตก้าวหน้า การก่อสร้างเริ่มแรกได้สร้างโบสถ์ขึ้นก่อน พร้อมกับเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นเครื่องบูชาของชาวจีนโบราณต่างๆ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ตนเอง และสร้างวิหารมีลักษณะทรงไทยเป็นอนุสรณ์แก่ภรรยา เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังลายไทยเล่าเรื่องราวการเสด็จลงจากดาวดึงส์ และเรื่องราวการชนะมารของพระพุทธเจ้า ครั้นแล้วได้อัญเชิญพระพุทธรูปปางมารวิชัยมาจากเมืองสุโขทัย มาประดิษฐานไว้ในวิหารพระประธานองค์ประดิษฐานที่วิหารนั้นมีพญานาค ๗ เศียรแผ่พังพาน เป็นรูปปูนปั้น องค์พระเป็นพระปางมารวิชัยสัมฤทธิ์ ชาวบ้านจึงได้เรียกว่า “วัดนาคปรก” ตามลักษณะพระพุทธรูปที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ของวัดนี้

การพระราชทานวิสุงคามสีมา เข้าใจว่าได้รับพระราชทานมาแต่เดิมประมาณ พ.ศ. ๒๒๙๑ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๔๘.๖๐เมตร ยาว ๕๐.๗๐ เมตร นี้ก็เป็นประวัติของวัดนาคปรก

ทำเนียบเจ้าอาวาส


หลวงปู่ชู ฉันทสโร (คงชูนาม)  พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๒๔๗๗


พระอธิการเลี่ยม นันทิโย (คงชูนาม) พ.ศ. ๒๔๗๘ - ๒๕๐๕


พระอธิการอำนาจ นราสโภ พ.ศ. ๒๕๐๕ - ๒๕๑๒


พระครูศรีพัฒนคุณ (พิศิษฐ์ สิมมามี) พ.ศ. ๒๕๑๓ - ๒๕๔๒




พระกิตติโสภณวิเทศ (เศรษฐกิจ สมาหิโต) พ.ศ. ๒๕๔๓ - ปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม